นักธรรมชาติวิทยาชาวอเมริกันที่รู้จักกันในชื่อ “ดาร์วินยุคใหม่” เสียชีวิตเมื่อวันอาทิตย์ ด้วยวัย 92 ปี
นอกจาก David Attenborough นักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษแล้ว Wilson ยังได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในผู้มีอำนาจชั้นนำของโลกในด้านประวัติศาสตร์ธรรมชาติและการอนุรักษ์
“ EO Wilson ถูกเรียกว่า 'ทายาทตามธรรมชาติของดาร์วิน' และเป็นที่รู้จักอย่างสนิทสนมว่าเป็น 'มนุษย์มด' สำหรับงานบุกเบิกของเขาในฐานะนักกีฏวิทยา” มูลนิธิเขียน ไม่ได้ระบุสาเหตุการตาย แต่กล่าวว่ามีการวางแผนส่งบรรณาการสำหรับปี 2022
EO Wilson เรียกได้ว่าเป็นทายาททางธรรมชาติของ Darwin และได้รับการเรียกขานว่า เป็น ‘the ant man’ จากงานบุกเบิกของเขาในฐานะนักกีฏวิทยา จากแถลงการณ์ของมูลนิธิของเขา
สำหรับผลงานที่สำคัญของเขา เป็นการศึกษาด้านวิวัฒนาการและกีฏวิทยา และในช่วงบั้นปลายชีวิต เขาเป็นหัวหอกในการรณรงค์ให้เกิดความร่วมมือจากสังคมทางวิทยาศาสตร์และสังคมทางศาสนา ในการร่วมกันพิทักษ์โลก
Wilson ได้นำเสนอผลงานทางวิชาการเป็นหนังสือกว่า 30 เล่ม และ 2 เล่มในจำนวนนั้น คือ On Human Nature ในปี 1979 และ The Ants ในปี 1991 ได้รับรางวัล Pulitzer ด้วยโวหารการเขียนที่ดีเลิศเกินกว่าความคาดหวังสำหรับข้อเขียนจากนักวิทยาศาสตร์
เขาได้พยายามเชื่อมโยงเรื่องราวทางวิทยาศาสตร์เข้ากับศาสนา ในปี 2006 หนังสือ The Creation: An Appeal to Save Life on Earth ได้เสนอแนวคิดแบบนี้ไว้ผ่านเรื่องราวของ นักเทศน์ (Baptist preacher) คนหนึ่งในความพยายามร่วมมือกับพันธมิตรในระบบนิเวศน์ เพื่อพิทักษ์โลก ในปี 2011 เขาได้กล่าวสุนทรพจน์ ที่ University of North Carolina ว่า มนุษยชาติจะต้องเปลี่ยนแปลงวิธีการอยู่ร่วมกับโลก
“เรามีอารมณ์ยุคหิน สถาบันในยุคกลาง และเทคโนโลยีที่เหมือนพระเจ้า เขากล่าว” และเขายังกล่าวอีกว่า การทำลายป่าฝนเพื่อสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจนั้น เหมือนกับ เราเผาภาพเขียนจากยุค Renaissance เพื่อปรุงอาหารเพียงหนึ่งมื้อ
เขาได้รับรางวัล the National Medal of Science รางวัลเชิดชูเกียรติทางวิทยาศาสตร์สูงสุดของสหรัฐฯ และในปี 1995 นิตยสาร Time ได้จัดให้เขาเป็น 1 ใน 25 ชาวอเมริกันที่มีอิทธิพลสูง
ในปี 2005 มูลนิธิ EO Wilson Biodiversity Foundation ได้ถูกจัดตั้งขึ้น เพื่อการอนุรักษ์ และในปี 2008 ได้เปิดตัว the Encyclopedia of Life (https://bit.ly/3eupRgo) ทาง Online เพื่อให้ข้อมูลสนับสนุนการศึกษาสิ่งมีชีวิตกว่า 1.9 ล้าน species บนโลก
ด้วยความเคารพต่อนักธรรมชาติวิทยา ที่อุทิศตนเพื่อการศึกษาและอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของโลก
ที่มา : https://bit.ly/344rgrV
ขอขอบคุณข้อมูลจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)
