การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลต่อการติดต่อของโคโรนาไวรัสหรือไม่ 20 มกราคม 2565  56  กองส่งเสริมและเผยแพร่ ชีวิตวิถีใหม่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม คุณภาพสิ่งแวดล้อมคือคุณภาพชีวิต กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

Coronavirus, Climate Change, and the Environment Ep1 บทสัมภาษณ์ Dr. Aaron Bernstein, Director of Harvard Chan C-CHANGE เกี่ยวกับ COVID - 19

          Does climate change affect the transmission of coronavirus ? การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่งผลต่อการติดต่อของโคโรนาไวรัสหรือไม่
เรายังไม่มีหลักฐานทางตรงว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลต่อการแพร่กระจายของ COVID-19 แต่เราทราบอย่างแน่นอนว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ของมนุษย์ต่อสิ่งมีชีวิตอื่นในโลก ซึ่งด้วยเหตุนี้เองที่ส่งผลต่อสุขภาพและมีความเสี่ยงที่จะเกิดการติดเชื้อจากภาวะโลกร้อน ทำให้สัตว์น้อยใหญ่ ทั้งสัตว์บกและสัตว์ทะเล มีการอพยพไปทางทิศขั้วโลกมากขึ้น เพื่อหลีกนี้จากความร้อน ซึ่งจากการอพยพของสัตว์ทำให้มีการสัมผัสกันของสิ่งมีชีวิตที่โดยปกติแล้วจะไม่มีโอกาสสัมผัสกัน ด้วยเหตุนี้เองที่ก่อให้เกิดโอกาสที่เชื้อโรคจะแพร่สู่สิ่งมีชีวิตชนิดใหม่หลายสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดการระบาดของโรค เช่น การตัดไม้ทำลายป่า ทำให้สัตว์ป่าสูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัยจึงต้องอพยพออกมาสัมผัสกับมนุษย์และสัตว์ ซึ่งเป็นการส่งต่อเชื้อโรค และฟาร์มปศุสัตว์ขนาดใหญ่ยังเพิ่มโอกาสให้การติดเชื้อเล็ดรอดจากสัตว์สู่คน การลดความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์ลง ไปพร้อมกับการจัดการฟาร์มอย่างยั่งยืนจะช่วยลดโอกาสการติดเชื้อ และลดการก่อก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเรามีหลายเหตุผลที่จะดำเนินการ climate action ไปพร้อมกับการรักษาสุขภาพและลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบาด

          Does air pollution increase the risk of getting coronavirus ? Does it masymptoms worse ? มลพิษทางอากาศเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโคโรนาไวรัส และทำให้อาการของโรคแย่ลงหรือไม่
จากผลการวิจัยของ Rachel Nethery, Xiauo Wu, Francesca Dominici และคณะผู้วิจัยที่ Harvard Chan พบว่า ผู้คนที่อาศัยในพื้นที่คุณภาพอากาศแย่ มีโอกาสมากกว่าที่จะเสียชีวิตจาก COVID-19 แม้ว่าจะประเมินปัจจัยด้านอื่นประกอบด้วยแล้ว เช่น ภาวะทางสุขภาพก่อนการติดเชื้อ สถานะทางสังคมเศรษฐกิจ และการเข้าถึงบริการสาธารณะสุข
ผลการศึกษานี้ สอดคล้องกับผลการศึกษาก่อนหน้า ที่แสดงถึงผลของผู้ที่สัมผัสกับมลพิษอากาศและผู้สูบบุหรี่ จะมีอาการแย่กว่าหากมีการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เมื่อเทียบกับผู้ที่หายใจอากาศที่สะอาด และผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ ในบริเวณที่มีปัญหามลพิษอากาศอยู่เป็นประจำ จะต้องเฝ้าติดตามสุขภาพของผู้ที่มีความเสี่ยงสูงที่จะสัมผัสมลพิษมากกว่าปกติ เช่น คนไร้บ้าน ซึ่งไม่มีโอกาสที่จะมีเครื่องฟอกอากาศในบ้าน ซึ่งผู้คนเหล่านี้ควรได้รับความใส่ใจถึงแม้จะไม่มีปัญหา coronavirus

          Will warmer weather slow the spread of coronavirus ? อากาศที่อุ่นกว่าจะสามารถชลอการระบาดของโคโรนาไวรัสได้หรือไม่
เรายังไม่ทราบว่าสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงจะส่งผลต่อการระบาดของ COVID-19 อย่างไร ดังนั้นเราจึงไม่สามารถพึ่งพาสภาพอากาศที่ร้อนขึ้นเพื่อควบคุมการแพร่เชื้อ เราจำเป็นต้องทำทุกอย่างที่ทำได้ในตอนนี้เพื่อชะลอการแพร่กระจายของโรค ซึ่งหมายความว่าเราต้องปฏิบัติตามคำแนะนำที่ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุข และปฏิบัติตามมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม และรักษาความสะอาดของมือ ตลอดจนการดำเนินการอื่นๆ

          How likely are we to see infectious disease spread as a  result of climate change  ?
มีความเป็นไปได้เพียงไรที่เราจะพบการระบาดที่เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สร้างสภาวะที่เหมาะสมต่อการแพร่กระจายของโรคระบาด เช่น โรค Lyme disease (โรคติดเชื้อจากเห็บกัด) เชื้อโรคระบาดทางน้ำ เช่น Vibrio parahaemolyticus ที่ทำให้เกิดอาการอาเจียรและท้องเสีย และโรคที่มียุงเป็นพาหะ เช่น ไข้มาลาเรีย และ ไข้เลือดออก
ยังไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะคาดการณ์ความเสี่ยงในอนาคต แต่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศก่อผลกระทบอย่างหนักในหลายด้านที่มีอุบัติการของโรค ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับอุณหภูมิและปริมาณน้ำฝน เพื่อช่วยจำกัดความเสี่ยงของโรคติดเชื้อเหล่านี้ เราควรทำทุกวิถีทาง เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและจำกัดภาวะโลกร้อนไว้ที่ 1.5 องศา

          Why are emerging infectious diseases on the rise ? ทำไมโรคติดเชื้ออุบัติใหม่จึงเพิ่มขึ้น ?
เราพบว่ามีแนวโน้มที่จะพบโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ จากช่วงทศวรรษที่ผ่านมานี้ โดยการติดเชื้อสู่ประชาชนส่วนมาก เกิดจากสัตว์เป็นพาหะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการติดเชื้อจากสัตว์ป่า ประชากรสัตว์สามารถเป็นสะสมของเชื้อ เช่น ไข้หวัดเมื่อมีการติดสู่คน และติดต่อจากการจาม และสามารถแพร่กระจายไปได้ทั่วโลกในเวลาเพียงแค่ 1 วัน จากการเดินทางของผู้คนไปทั่วโลก จากช่วงศตวรรษที่ผ่านมาพวกเราเบียดเบียนธรรมชาติไปอย่างมาก เราสูญเสียสิ่งมีชีวิตต่างๆ ในอัตราที่ไม่สามารถประเมินได้ นับตั้งแแต่ยุคไดโนเสาร์ พร้อมกับครึ่งหนึ่งของชีวิตบนโลก ได้สูญพันธุ์ไปเมื่อ 65 ล้านปีก่อน ซึ่งการสูญหายไปจากโลกนั้นขึ้นกับการสูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัยเป็นสำคัญ ซึ่งมีสาเหตุมาจากการุกล้ำพื้นที่จากการเพาะปลูก และปศุสัตว์ ซึ่งการมีพื้นที่อยู่อาศัยลดลงของสัตว์ทำให้เกิดการรุกล้ำของสัตว์เข้าสู่ปีที่ผ่านมา มนุษยชาติดำรงชีวิตอยู่ร่วมกับพืชและสัตว์ด้วยความสัมพันธ์กันในระบบนิเวศน์และห่วงโซ่อาหาร การเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงในความสัมพันธ์จากผลของสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปย่อมส่งผลต่อสุขภาพและการดำรงอยู่ของมนุษย์อย่างเรา

โปรดติดตามต่อใน EP2

ที่มา : https://bit.ly/3Ha4bCz
ขอขอบคุณข้อมูลจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)

18 มกราคม 2565  76

Biden ลงนามในคำสั่งให้รัฐบาลต้องบรรลุเป้าหมาย net-zero ภายในปี 2050

20 มกราคม 2565  27

ทส. จัดประชุม TCAC ด้านนิทรรศและการประชาสัมพันธ์ ครั้งที่ 1/2565