จากรายงานฉบับบล่าสุดของ IPCC ได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นของ ใน scenarios ที่จะจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิไว้ที่
1.5 - 2 องศา ได้แสดงถึงปริมาณการกำจัด CO2 จำนวนมาก ที่จะต้องเกิดขึ้นภายหลังปี
2050 แต่ยังไม่ได้แสดงข้อมูลรายละเอียดของปริมาณการปล่อยที่ยังหลงเหลืออยู่
และปริมาณ CDR offsetting ที่จะต้องดำเนินการ
การที่ข้อมูลในรายงานยังไม่ชัดเจน
อาจจะมาจากเหตุผล 2 ประการคือ? ประการแรก ยังไม่มีความเชื่อมั่นสูงพอสำหรับประเด็นทางเทคนิค
และการลงทุน ที่จะสามารถทำให้เกิดการกำจัด CO2
ได้ในระดับสูง ในทางกลับกันสิ่งนี้ทำให้ผู้มีอำนาจตัดสินใจ
ยังคงเชื่อว่าพวกเขาสามารถเลื่อนการตัดสินใจที่ยากลำบากนี้ออกไปเป็นเวลาหลายปีหรือหลายสิบปี
โดยตั้งอยู่ในสมมติฐานที่ว่า การกำจัด CO2 จะได้รับการพัฒนาเพื่อขจัดปัญหาทางภูมิอากาศ
ได้อย่างเพียงพอ และอนุญาตให้ผู้ก่อมลพิษทุกประเภท
ตั้งแต่เหมืองถ่านหินไปจนถึงสายการบิน
สามารถโต้แย้งว่าการปล่อยมลพิษสามารถดำเนินต่อไปได้ เนื่องจากจะสามารถชดเชยด้วย CDR
ได้ในที่สุด ประการที่ 2 รายงานยังไม่ได้แสดงถึงการพิจารณาด้านความเท่าเทียมกันของสังคม
ด้วยวิธีการ และพื้นที่สำหรับการกำจัดคาร์บอนจะส่งผลต่อ ประเด็นทางเทคนิค
และการแก่งแย่งพื้นที่กับ การผลิตอาหาร หรือการผลิตพลังงานหมุนเวียน
ที่จะถูกเปลี่ยนไปใช้สำหรับการกำจัดคาร์บอน
อีกปัญหาหนึ่ง คือ คนส่วนใหญ่มีความเข้าใจผิดที่ว่า 1 ตันของคาร์บอนที่ปล่อยออกมา เท่ากับ 1
ตันของคาร์บอนที่กำจัดออกไป - นี่เป็นสมการที่ผิดพลาดตัวอย่างเช่น
การกำจัดคาร์บอนด้วยวิธีการทางชีวภาพ - เก็บสะสมคาร์บอนไว้ในป่าไม้ ดิน ป่าพรุ
และผืนหญ้าทะเล ซึ่งใช้ในการ Offset ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจาก
เชื้อเพลิงฟอสซิลนั้น มีความเหลื่อมล้ำอย่างมากในด้านช่วงเวลา
เพราะกระบวนการทางชีวภาพเหล่านี้จะต้องใช้เวลาที่ยาวนานที่จะสามารถกำจัด -
กักเก็บปริมาณคาร์บอนได้ในระดับที่มีนัยสำคัญ ในขณะที่การเกิดผลกระทบทางภูมิอากาศ
เช่น ไฟป่า น้ำท่วม จะเป็นการรบกวนกระบวนการทางธรรมชาติเหล่านี้
ซึ่งอาจจะเป็นการทำให้ปริมาณคาร์บอนที่กักเก็บไว้รั่วไหลกลับออกสู่บรรยากาศได้
เมื่อเทียบกับการกักเก็บไว้ในชั้นหินใต้เปลือกโลก
ซึ่งความกังวลนี้
เป็นข้อโต้แย้งไปยังแนวคิดตามวิธีการของ IPCC ที่มุ่งเป้าไปที่ผลรวมของการปล่อยโดยประเมินเป็น
carbon budget และให้ทุกหน่วยของคาร์บอนสามารถบวกเพิ่มหรือแลกเปลี่ยนกันได้ที่ปริมาณเท่ากัน ผลสำเร็จของนโยบายด้านภูมิอากาศ
ขึ้นอยู่กับการให้ความสำคัญกับแต่ละหน่วยของคาร์บอนไม่เท่ากัน
โดยบ่งชี้ถึงปริมาณการลดก๊าซเรือนกระจกใดที่ส่งผลน้อยที่สุดต่อเศรษฐกิจ
และการกำจัดคาร์บอนในรูปแบบวิธีการใดที่ จะให้ผลประโยชน์ร่วม (co-benefits) สูงสุดสำหรับความหลากหลายทางชีวภาพและสุขภาพ คำถามเหล่านี้
อาจจะได้รับความกระจ่างเมื่อรายงานจากคณะทำงานชุดที่ 2 และ 3 ได้ถูกเผยแพร่ (Reports
of Working Groups II and III) แต่ด้วยรายงานจากคณะทำงานชุดที่ 1
เกี่ยวกับความเท่าเทียมกันของคาร์บอน
ยังไม่สามารถขจัดความกังวลที่มีและอาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ CDR นั้นหยั่งรากลึกไปในสังคม
ทำให้สุ่มเสี่ยงต่อการเลือกกำหนดนโยบายที่ไม่ดีได้
สำหรับนโยบายที่มองถึงความแตกต่างกันของคาร์บอน ดูจะมีความซับซ้อนและมีความสอดคล้องต่อส่วนอื่นๆ
ได้อย่างดี และยังบ่งชี้ถึงการยับยั้งหรือการลดการปล่อยได้ชัดเจน
หากมองถึงตลาดคาร์บอน เพื่อการ offset ด้วยระเบียบที่เอื้อให้
การบังคับการปฏิบัติ การสนับสนุน และรูปแบบการลดและการกำจัดคาร์บอน
ดูจะยังไม่สอดคล้องกับข้อกังวลของแนวคิดคุณค่าคาร์บอนที่แตกต่างกัน ในเมื่ออนาคตของเราขึ้นอยู่กับความสามารถในการกำจัดคาร์บอนอย่างยั่งยืน
เพื่อซ่อมแซมสภาพภูมิอากาศ
คำถามสำหรับปริมาณการกำจัดคาร์บอนส่วนเกินที่หลงเหลือจากการลดนั้นมีปริมาณเท่าไร
จะกลายเป็นประเด็นที่เข้มข้นทางการเมืองต่อไป
ในการประชุม COP26
ในเดือนพฤศจิกายนนี้
ผู้กำหนดนโยบายจากทั่วโลจะมาประชุมกันเพื่อกำหนดทิศทางและนดยบาย
หวังว่าพวกเขาจะไม่สร้างความผิดพลาด
ซึ่งพวกเขาควรกำหนดเเป้าหมายสำหรับการลดการปล่อย และการกำจัดคาร์บอน แยกออกจากกัน
และสร้างความมั่นใจว่าการปล่อยนั้นจะถูกจัดการอย่างเด็ดขาด ณ ที่แหล่งปล่อย
บทความโดย Duncan McLaren ; Professor
at the Lancaster Environment Centre at Lancaster University.
ที่มา : https://bit.ly/3DjlHCq