เส้นทางสู่การพึ่งพาพลังงานหมุนเวียนอย่างสมบูรณ์ของ Indonesia ภายในปี 2060 จะประกอบด้วยการห้ามจำหน่ายรถยนต์พลังงาน fossil-fuel และการใช้พลังงานไฟฟ้าจากนิวเคลียร์
Indonesia ประเทศผู้ส่งออกถ่านหินอันดับหนึ่ง ได้ประกาศเจตนารมณ์ที่จะลดก๊าซเรือนกระจกลง? 29% ภายใน 10 ปี ภายใต้การบริหารของ ประธานาธิบดี Joko Widodo ยังคงมีความระมัดระวังต่อข้อดี - ข้อเสีย ทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลของเขาได้ผลักดันการลดก๊าซเรือนกระจกด้วยมาตรการภาษี carbon tax ท่ามกลางกระแสวิพากย์วิจารณ์ ด้วยอัตราภาษี 30,000 rupiah ($2.11) ต่อ tCO2eq ซึ่งเป็นอัตราภาษีที่ต่ำมากๆ เมื่อเทียบกับมาตรการแบบเดียวกันนี้ในประเทศอื่นๆ ซึ่งอาจจะไม่เพียงพอที่จะทำให้เกิดการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
สำหรับเป้าหมายตามแผนงานของ Indonesia เพื่อมุ่งสู่ net zero emissions:
2022: รัฐบาลผ่านกฏหมายด้านพลังงานหมุนเวียน
2025: แหล่งพลังงานหมุนเวียนสามารถรองรับความต้องการใช้พลังงาน ที่ 23% และประชาชนทุกคนต้องสามารถเข้าถึงการใช้พลังงานไฟฟ้า
2027: หยุดการนำเข้า LPG ทั้งหมด
2030: แหล่งพลังงานหมุนเวียนสามารถรองรับความต้องการใช้พลังงานเติบโตขึ้นเป็น 42% โดยส่วนใหญ่มาจากพลังงานแสงอาทิตย์
2031: รัฐบาลจะเริ่มต้นปลดการใช้โรงไฟฟ้าถ่านหิน
2035: แหล่งพลังงานหมุนเวียนสามารถรองรับความต้องการใช้พลังงานเติบโตขึ้นเป็น 57% ซึ่งประกอบด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานความร้อนใต้พิภพ และพลังน้ำ
2040: หยุดการจำหน่ายจักรยานยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิง fossil-fuel
2045: โรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งแรกเริ่มดำเนินการ
2050: หยุดการจำหน่ายรถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิง fossil-fuel
2055: ปิดโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินแห่งสุดท้าย
2060: แหล่งพลังงานหมุนเวียนสามารถรองรับความต้องการใช้พลังงานเติม 100%
ขอขอบคุณข้อมูลจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)