โครงการ/กิจกรรม > ลูกเสืออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (Green Scout)
ลูกเสืออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (Green Scout)
ไปยังระบบงาน
ความเป็นมา
ข่าวสารโครงการ
ดาวน์โหลดเอกสาร
กลุ่มส่งเสริมกิจการเยาวชนและลูกเสือ
ตามที่ คณะรัฐมนตรีมีมติ เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2552 เห็นชอบนโยบายสร้างจิตสำนึกเยาวชนด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กับการให้อุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเป็นค่ายลูกเสือ ตามข้อเสนอของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการลงนามร่วมกัน ในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ระหว่าง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ กระทรวงศึกษาธิการ โดย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในขณะนั้นร่วมลงนามเป็นพยาน ณ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2552 มีความประสงค์ที่จะตกลงความร่วมมือและพัฒนางาน ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วยพลังเยาวชน กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการสร้างจิตสำนึกของประชาชนทุกภาคส่วนด้านสิ่งแวดล้อม และได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบงานตามนโยบายสร้างจิตสำนึกเยาวชนด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงจัดให้มีการพัฒนากิจการลูกเสืออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 ภายใต้แผนการพัฒนากิจการเยาวชนและลูกเสือด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นภารกิจสำคัญประการหนึ่ง เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและสนับสนุนการดำเนินงานการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของเยาวชนที่ผ่านกระบวนการฝึกอบรมหลักสูตร วิชาลูกเสือและเนตรนารีพร้อมทั้งได้มีการจัดกิจกรรมอบรมปลูกสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องทั่วประเทศไทย โดยมีการนำกระบวนการลูกเสือมาสร้างสรรค์ประโยชน์ในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อมุ่งส่งเสริมให้เยาวชนมีบทบาทในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยการ บูรณาการระหว่างหลักวิชาการลูกเสือ และหลักการสิ่งแวดล้อมศึกษา และในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2552 จึงมีการจัดตั้ง กองลูกเสืออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ขึ้นในสังกัดกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ได้รับความร่วมมือจาก สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด รวมทั้ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดต่าง ๆ และโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาในพื้นที่ ดำเนินการคัดเลือกนักเรียนเข้ารับการฝึกอบรมลูกเสืออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นในงบประมาณปี พ.ศ. 2559 กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมได้มีการจัดทำหลักสูตรลูกเสืออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นแนวทางในการเรียนการสอนวิชาลูกเสือตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการและเสริมหลักสูตรลูกเสืออนุรักษ์ฯ เข้าไปในวิชาลูกเสืออย่างบูรณาการ และนำมาใช้สำหรับโรงเรียนทั่วประเทศที่สังกัดกระทรวงศึกษาธิการสนใจนำหลักสูตรไปใช้ในการจัดตั้งกองลูกเสืออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสร้างเครือข่ายลูกเสืออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อก่อให้เกิดจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างมีส่วนร่วมจากการปฏิบัติจริงอย่างยั่งยืนแก่เยาวชนเพื่อเติบโตเป็นพลเมืองที่มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่อไป
ภารกิจส่วนกิจการลูกเสือ
ผลการดำเนินงาน
ในปี พ.ศ. 2552 มีการจัดฝึกอบรมลูกเสืออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จำนวน 7 ครั้ง 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดขอนแก่น จังหวัดสงขลา จังหวัดระยอง และจังหวัดน่าน รวมทั้งมีการจัดฝึกอบรมหลักสูตรผู้บังคับบัญชาลูกเสือระดับผู้นำขั้นความรู้ชั้นสูง (A.T.C.) 2 ท่อน ให้กับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ในปี พ.ศ. 2553
- การฝึกอบรมลูกเสืออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยการโอนเงินงบประมาณสนับสนุน สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค ที่ 1-16 จำนวน 16 จังหวัด
- การจัดกิจกรรมเนื่องในวันชุมนุมลูกเสืออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 1 กุมภาพันธ์ 2553 จำนวน 8 จังหวัด โดยการโอนเงินงบประมาณในการสนับสนุน
- การจัดฝึกอบรมลูกเสืออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกลุ่มเป้าหมายคือเด็กนักเรียนในสังกัดพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร
- การจัดฝึกอบรมหลักสูตรผู้บังคับบัญชาลูกเสือระดับผู้นำขั้นความรู้ชั้นสูง (A.T.C.) 2 ท่อน, (A.L.T.C.) 3 ท่อน ให้กับหน่วยงานในกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- การฝึกอบรมพัฒนาบุคลากรจัดค่ายลูกเสืออนุรักษ์ จำนวน 4 ครั้ง
- การฝึกอบรมบุคลากรแกนนำด้วยกระบวนการลูกเสืออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รุ่นที่ 1 ขึ้นเป็นครั้งแรก
ในปี พ.ศ. 2554
- การฝึกอบรมลูกเสืออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยการโอนเงินงบประมาณสนับสนุน สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค จำนวน 10 จังหวัด และสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด 15 จังหวัด
- การฝึกอบรมลูกเสืออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จำนวน 7 ครั้ง 7 จังหวัด การจัดกิจกรรมเนื่องในวันชุมนุมลูกเสืออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 1 กุมภาพันธ์ 2554 จำนวน 19 จังหวัด โดยการโอนเงินงบประมาณ
- การจัดฝึกอบรมหลักสูตรผู้บังคับบัญชาลูกเสือระดับผู้นำขั้นความรู้ชั้นสูง (A.T.C.) 2 ท่อน ให้กับหน่วยงานในกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- การจัดฝึกอบรมพัฒนาบุคลากรจัดค่ายลูกเสืออนุรักษ์ จำนวน 1 ครั้ง
- การฝึกอบรมบุคลากรแกนนำด้วยกระบวนการลูกเสืออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รุ่นที่ 2
ในปี พ.ศ. 2555
- การจัดกิจกรรมเนื่องในวันชุมนุมลูกเสืออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 1 กุมภาพันธ์ 2555 จำนวน 19 จังหวัด โดยการโอนเงินงบประมาณสนับสนุน
- การจัดฝึกอบรมลูกเสืออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หลักสูตร ลูกเสือชุมชนคนรักษ์ท้องถิ่น
- การจัดฝึกอบรมพัฒนาบุคลากรจัดค่ายลูกเสืออนุรักษ์ จำนวน 2 ครั้ง
- การจัดฝึกอบรมบุคลากรแกนนำด้วยกระบวนการลูกเสืออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รุ่นที่ 3
- กิจกรรมชุมนุมลูกเสืออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 1 จากสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค จำนวน 6 จังหวัด และสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด 2 จังหวัด
ในปี พ.ศ. 2556
- การฝึกอบรมลูกเสืออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยการโอนเงินงบประมาณสนับสนุน สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด 27 จังหวัด
- การจัดกิจกรรมเนื่องในวันชุมนุมลูกเสืออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 1 กุมภาพันธ์ 2556 จำนวน 30 จังหวัด โดยการโอนเงินงบประมาณสนับสนุน
- การจัดฝึกอบรมลูกเสืออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จำนวน 3 จังหวัด
ในปี พ.ศ. 2557
- การฝึกอบรมลูกเสืออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยการโอนเงินงบประมาณสนับสนุน สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด 20 จังหวัด
- การจัดกิจกรรมเนื่องในวันชุมนุมลูกเสืออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 1 กุมภาพันธ์ 2557 จำนวน 30 จังหวัด โดยการโอนเงินงบประมาณสนับสนุน
- การจัดฝึกอบรมลูกเสืออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จำนวน 4 จังหวัด
ในปี พ.ศ. 2558
- การฝึกอบรมลูกเสืออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยการโอนเงินงบประมาณสนับสนุน สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด 12 จังหวัด
- การฝึกอบรมบุคลากรแกนนำด้วยกระบวนการลูกเสืออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รุ่นที่ 3
- กิจกรรมชุมนุมลูกเสืออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 2 จากสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค จำนวน 7 จังหวัด
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559
1. ส่วนกิจการลูกเสือ ได้มีแผนงานในการดำเนินงานใช้หลักสูตรลูกเสืออนุรักษ์ฯ ภายสถานศึกษานำร่องจำนวน 10 แห่ง ทั่วทุกภาคของประเทศไทย เพื่อเป็นการร่วมมือระหว่างกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมและโรงเรียนในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ในการพัฒนาหลักสูตรลูกเสืออนุรักษ์ฯ ให้มีรูปแบบที่เหมาะสมและสามารถใช้ในการเรียนการสอนวิชาลูกเสือได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. จัดค่ายฝึกอบรมลูกเสืออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ จากโรงเรียนในเขตกรุงเทพมหานครเพื่อให้เยาวชนลูกเสือมีความรู้ ความเข้าใจและทักษะในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยอาศัยกระบวนการลูกเสือใช้เป็นกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วม
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
1. การขยายผลการใช้หลักสูตรลูกเสืออนุรักษ์ฯ ให้แก่สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด หรือสถานศึกษาที่เป็นเครือข่ายลูกเสืออนุรักษ์ฯ ในโรงเรียนสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
2. จากปี พ.ศ. 2559 ที่ได้สถานศึกษานำร่องลูกเสืออนุรักษ์จำนวน 10 แห่ง ในปีนี้จะมีการพัฒนากิจกรรมของลูกเสืออนุรักษ์ฯ ภายในสถานศึกษา เพื่อให้เป็น 10 สถานศึกษาต้นแบบทางการลูกเสืออนุรักษ์ฯ
3. พัฒนาหลักสูตรลูกเสืออนุรักษ์ฯ กิจกรรมด้านการอนุรักษ์ฯ สำหรับลูกเสืออนุรักษ์ฯ ให้มีส่วนร่วมมากขึ้น และมีการพัฒนาการกิจกรรมต่างๆด้านสิ่งแวดล้อม
4. ฝึกอบรมพัฒนาบุคลากรทางการลูกเสือที่เป็นลูกเสืออนุรักษ์ฯ ด้านทักษะและความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมในการเรียนการสอนวิชาลูกเสือและการจัดค่ายลูกเสืออนุรักษ์ฯ
ความคาดหวัง
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของเยาวชนที่จะเป็นอนาคตของชาติ โดยเฉพาะลูกเสือ-เนตรนารี เป็นเยาวชนที่มีความสำคัญของชาติในด้านของความมีระเบียบวินัย การใฝ่รู้ทักษะด้านต่างๆ การเป็นผู้ปฏิบัติกิจกรรม และความมีจิตอาสา ตามคำปฏิญาณของลูกเสือทั้ง 3 ข้อ ซึ่งวิชาลูกเสืออนุรักษ์ฯ จะเป็นวิชาที่สามารถปลูกสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ติดตัวเยาวชนจนเป็นผู้ใหญ่ในอนาคตที่มีความสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม ตามคำลูกเสือที่ว่า “ระเบียบวินัยสร้างได้ ถ้าใช้กระบวนการลูกเสือ” วินัยทางสิ่งแวดล้อมก็เช่นกัน